วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย

                                                   1.คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึง
           1.คนที่เกิดมาใหม่ ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบเสร็จ แต่ยังไม่ได้ใส่โปรแกรมอะไรเลยซักอย่าง
คนเกิดใหม่จะมีสัญชาตญาณ คือการปรับแต่งชีวิตให้อยู่รอด เป็นไปโดยธรรมชาติ ติดมาด้วย
ส่วนคอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่มีข้อมูลอะไรเลย แต่ก็มี ไบออส เป็นสัญชาตญาณความจำเล็กๆของคอมในการพัฒนาการของมันต่อไป เปรียบคล้ายสัญชาตญาณเหมือนกันกับคนที่รอการพัฒนาการต่อไป
         2.สมองคน มีหน้าที่ ควบคุมอวัยวะต่างๆของร่างกาย มีหน้าที่ รับส่งข้อมูล เก็บและปล่อย ให้ความรู้สึก
ส่วนCPUกับฮาร์ดดิสก์ ก็เปรียบสมองของคอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ด้วยกัน จึงจะเรียกว่าสมองคอมได้
CPUรับหน้าที่ รับความรู้สึก เมื่อมีการรับส่งข้อมูล ประมวลผล ถูกหรือผิด แล้วจึงส่งไปเก็บรวมไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ คอยดึงความจำเข้าออกจากฮาร์ดดิสมาใช้ตลอด ถ้าไม่มีความจำจากฮาร์ดดิสก์เลย
CPUก็ไร้ค่า เหมือนคนมีความสามารถ แต่ไม่มีทุน มันก็ทำอะไรไม่ได้
       3 ตาของคนเราที่มองเห็นภาพโน้นภาพนี้ ก็เปรียบ เหมือน จอภาพคอม ที่แสดงให้เราดูภาพโน้นภาพนี้
      4 เสียง หรือวาจาคน ก็เหมือนเสียงจากซาวด์การ์ด คอม นั่นแหล่ะ
      5เมนบอร์ดก็เปรียบเหมือนร่างกายคนเรานี่แหละ เป็นที่รวมของแขนขาปากหูหัวคอคาง
      6แรม เปรียบเหมือน อายตนะทั้ง6 หูตาจมูกลิ้นกายใจ เป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ รับความรู้สึกมาก่อนที่จะตีความแล้วส่งไปที่สมอง แล้วเก็บไว้ ในฮาร์ดดิสก์ แรมนั้นเมื่อได้พบได้เห็น ไม่ว่าข้อมูลจากCDRom จาก
แฟรตไดร์ จากอินเตอร์เน็ต จากไดร์A จากฮาร์ดดิสก์ด้วยกัน แรมจะเข้ามาเสนอหน้ารับเอาไว้ก่อน
ในชั้นแรก สัมผัสก่อน เก็บไว้ชั่วครู แล้วจึงส่งไปเก็บต่อไป แรมจึงคล้ายส่วนรับสัมผัส แต่ไม่ได้เก็บเอาไว้ รับส่งแล้วเก็บได้แป๊บเดียวก็ต้องส่งออกส่งเข้าอย่างเดียว

                    2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย



                

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ


                                                                   ฮาร์ดิส


กล่าวคือ ฮาร์ดิสก์จะทำงานหมุนแผ่นโลหะกลมที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล(ptatters) อยู่ตลอดเวลา  การเข้าไปอ่านหรือเขียนฮาร์ดดิสก์แต่ละครั้ง  หัวอ่านซึ่งลอยอยู่เหนือผิวดิสก์โลหะนิดเดียว  ขนาดความจุ  ความสามารถ  และรูปแบบของฮาร์ดิสก์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวาดเร็วหลังจากมีการเปิดตัวฮาร์ดิสก์พร้อมๆ กับเครื่อง  IBM  XT  จากเดิมมีความจุเพียง 10  เมกะไบต์   มีความหนา  3  ถึง  4  นิ้ว  จนต้องใช้ช่องใส่ขนาด  5.25  นิ้ว  ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล  87  มิลลิวินาที  เปลี่ยนไปเป็นความจุ 200 เมกะไบต์ มีขนาดเล็กกว่าฟลอปปี้ดิสก์  3.5 นิ้ว นิ้ว  ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล  18  มิลลิวินาที และในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงความจุ เป็นหน่วยกิกะไบต์แล้ว  ขนาดก็เล็กลงพร้อมกันนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์แล้ว 

1. ตัวถังของฮาร์ดิสก์จะเป็นแผ่นโลหะจะเป็นแผ่นโลหะหุ้มโดยรอบและไม่มีรอยรั่วเพื่อป้องกันฝุ่นผงเข้าตัวฮาร์ดดิสก์  สาเหตุที่เตาต้องป้องกันฝุ่นผงก็คือ ฝุ่นผงมักจะมีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าไปแทรกช่องว่าระหว่างหัวอ่านกับแผ่นดิสก์  ครั้นหัวอ่านเคลื่อนที่ก็จะเป็นการลากถูฝุ่นผงไปบนผิวดิสก์  ทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบผิวเป็นรอยขีดข่วนเสียหาย  และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ 
2. ที่ด้านล่างสุดเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบตุมการทำงานของหัวอ่านและการหมุนดิสก์  เราเรียกแผงวงจรนี้ว่า ลอจิกบอร์ด (logic  board) แล้วแปลงคำสั่งดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  เพื่อกระทำหัวอ่านให้เป็นแม่เหล็กตามจังหวะ  ข้อมูลที่ป้อนให้กับมัน  นอกจากนั้นลอกจิกบอร์ดยังทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการหมุนดิสก์ให้คงที่  และบอกให้หัวอ่านเคลื่อนที่ไปมายังบริเวณข้อมูลที่ต้องการเขียน/อ่านอีกด้วย  สำหรับดิสก์ที่เป็นระบบ  IDE (Intergrated  Drive  Electribuc/x)  คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมดิสก์จะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของลอจิกบอร์ดไปเลย 
3. แกนหมุนซึ่งประกอบด้วยแผ่นดิสก์โลหะ  4  แผ่น  8  หน้า  จะเชื่อมติดกับมอเตอร์แล้วหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อวินาที  จำนวนแผ่นดิสก์และหน้าดิสก์ที่มีการเคลือบสารแม่เหล็กจะเป็นตัวบอกขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์  อนึ่ง  การเคลือบสารแม่เหล๊กที่เป็นอัลลอย(alloy)  จะเคลือบบางเพียงเศษสามส่วนล้านนิ้วเท่านั้น 
4. แกนหัวอ่านซึ่งถูกกระตุ้นการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า  จะถึงหรือผลักแขนหัวอ่านให้วิ่งไปทั่วแผ่นดิสก์ด้วยความแม่นยำ  โดยการปรับแต่งการหมุนของแกนหัวอ่านจะกระทำอยู่ตลอดเวลา  โดยการอ่านตำแหน่งแทร็กที่มีการเขียนเป็นแนววงกลมทั่วไปบนแผ่นดิสก์ 
5. หัวอ่าน/เขียน  จะติดอยู่กับแขนที่ยิ่นออกไปบนแผ่นดิสก์  เวลาเขียนข้อมูล  หัวอ่านจะนำข้อมูลที่มาจากตัวควบคุมดิสก์(disl  controller)  แปลงเป็นสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำให้สารเคลือบผิวเกิดการเรียงตัวใหม่  โดยให้เป็นไปในทิศทางของข้อมูลในทางกลับกันหรือในการอ่านหัวอ่านก็จะว่างผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสารแม่เหล็กที่ผิว  แล้วถอดรหัสสนามแม่เหล็กเหล่านั้นให้กลายเป็นข้อมูล 
6. เมื่อซอฟต์แวร์ของคุณบอกให้ดอสอ่านหรือเขียนข้อมูล  ดอสจะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปที่แฟต (FAT) ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บดัชนีชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ต่างๆ  บนดิสก์  ข้อมูลในแฟตนี้จะทำให้หัวอ่านสามารถกระโดดไปอ่านข้อมูลไฟล์ที่คลัสเตอร์นั้นๆ  ได้ทันที  กรณีที่เป็นการเขียนข้อมูล  หัวอ่านก็จะกระโดดไปคลัสเตอร์ที่แฟตบอกว่าว่างได้เช่นเดียวกัน 
7. ไฟล์หนึ่งๆ  อาจถูกแบ่งซอยออกเป็นหลายคลัสเตอร์  แต่ละคลัสเตอร์อาจอยู่บนและแผ่นคนละหน้าดิสก์ก็ได้  การไม่ต่อเนื่องของไฟล์นี้เองทำให้แฟต (FAT) มีความสำคัญ  กล่าวคือ  แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ใดเป็นคลัสเตอร์เริ่มต้น  จากนั้นจะมีการบอกคลัสเตอร์ต่อไปของไฟล์เหมือนการโยงโซ่ไปเรื่องๆ  จนครบทั้งไฟล์  ในการกรณีที่มีการเขียนข้อมูลลงดิสก์  แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ไหนที่ว่าง  ดอสก็จะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปเขียนข้อมูลในคลัสเตอร์ที่ว่าง  ซึ่งอาจจะมีหลายคลัสเตอร์ที่ไม่ต่อเนื่อง  เมื่อเขียนเสร็จดอสจะสั่งให้หัวอ่านกลับไปที่แฟตอีกที  เพื่อเขียนบันทึกการโยงคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งไฟล์ 
                                                               ซีดี

     ปัจจุบันเครื่องเล่น  CD   และ  DVD   เป็นของที่จำเป็นภายในบ้านไปเสียแล้ว   แผ่นซีดี  หรือ ดีวีดี  ใช้ในการเก็บข้อมูล  เพลง   ภาพยนตร์   ซอฟแวร์   โปรแกรม  และอื่นๆอีกมากมาย   ที่สามารถแปลงเป็นข้อมูลในระบบดิจิตอลได้    เราอาจจะเรียกแผ่นซีดีว่า ตู้เอกสารยุคดิจิตอลก็ย่อมได้  ตู้เอกสารนี้เก็บข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือทีเดียว
     นิยมเรียกแผ่นซีดีว่า แผ่นคอมแพคดิสก์   ส่วนเครื่องเล่น  เรียกว่า เครื่องเล่นคอมแพคดิสก์    เนื่องจากแผ่นคอมแพคดิสก์ มีราคาถูกแสนถูก   และยังหาง่ายอีกด้วย  จึงมีผู้นิยมใช้อย่างรวดเร็ว    ทั้งมีการก้อปปี้แผ่นจากแผ่นต้นฉบับ ถูกกฎหมายและไม่ถูกบ้าง นับเป็นร้อยๆล้านแผ่น  คงจะมีคนสงสัยว่า แผ่นพวกนี้ใช้เก็บอะไรกันหนักกันหนา   ขอตอบว่า  ข้อมูลทุกชนิดในโลกนี้  ไม่ว่าจะเป็นเสียง   ภาพ   ตัวอักษร หรืออะไรก็แล้วแต่  ที่สามารถแปลงเป็นตัวเลขดิจิตอลได้  ล้วนเก็บลงบนคอมแพคดิสค์ได้ทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตามหลักการทำงานของแผ่นซีดี  และเครื่องเล่น  เป็นอย่างไรนั้น  ผมจะอธิบายให้คุณได้ทราบอย่างละเอียดในหน้าถัดไป

                                                                         ดีวีดี

ดีวีดี (อังกฤษ: Digital Versatile Disc; ชื่อย่อ DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด
ความเร็วในการเขียนแผ่นดีวีดี 1x มีค่าเท่ากับ 10.5 Mb/s หรือราวๆ 3.2 MB/s
เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี

                                                                ไมโครชิพ


เช่นเดียวกับเครื่องบิน ที่ครั้งหนึ่งเราเคยมีจินตนาการ ในการเอาชนะกำแพงเสียง และทรานซิสเตอร์ที่ทำจากซิลิกอน (silicon-based transistor) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนต้องการทำให้มีความเร็วได้ถึง 200 จิกกะเฮิร์ทซ์ (GHZ) นั่นคือคำกล่าวของ นายเบอร์นาร์ด เมเยอร์สัน รองประธานบริษัท IBM ซึ่งกล่าวเนื่องในการประกาศตัว คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก ที่ใช้ silicon-based transistor ทำไมโครชิพ โดย IBM คาดว่าทรานซิสเตอร์ใหม่นี้ ทำให้ชิพสำหรับการสื่อสารมีความเร็วถึง 100 GHZ ภายใน 2 ปีข้างหน้า ความเร็วในระดับนี้สูงกว่า Intel Pentium 4 microchip ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายใน personal computer ถึง 100 เท่า
    ทรานซิสเตอร์ดังกล่าว ประกอบด้วย การปรับปรุงการออกแบบ และเทคโนโลยีซิลิกอนเจอมาเนียม (SiGe) เพื่อให้ความเร็วถึง 210 GHZ ขณะที่ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 1 มิลลิแอมป์ สิ่งนี้เป็นการปรับปรุงคุณภาพถึง 80% และลดการใช้พลังงานถึง 50%
    ความเร็วของทรานซิสเตอร์ ส่วนใหญ่แล้ว ถูกกำหนดด้วย ความเร็วของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวทรานซิสเตอร์ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับ วัสดุที่ใช้ทำทรานซิสเตอร์ และระยะทางที่ไฟฟ้าไหลผ่าน ทรานซิสเตอร์มาตรฐาน ทำจากซิลิกอนธรรมดา ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าวัสดุที่มีราคาแพงอย่าง แกลเลียมอาร์เซไนด์ หรืออินเดียมฟอสไฟด์ จำเป็นในการเพิ่มกำลัง และความเร็วของไมโครชิพ  แต่นักออกแบบชิพพบว่า ไม่สามารถทำวงจรไฟฟ้า ให้เล็กกว่าซิลิกอนชิพได้ ดังนั้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีราคาแพง เพื่อไปให้ถึงความเร็ว 210 GHZ
    ในปี 1989 IBM เสนอวิธีการปรับปรุง วัสดุซิลิกอนพื้นฐาน โดยการเติมธาตุเจอมาเนียม เพื่อเพิ่มความเร็ว ในการไหลของกระแสไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงาน และด้วยการพัฒนาล่าสุด IBM ผสมผสานระหว่าง การใช้วัสดุซิลิกอนเจอมาเนียม และปรับปรุงการออกแบบ ทรานซิสเตอร์ ทำให้เส้นทางไฟฟ้าสั้นลง เพื่อเพิ่มความเร็วของอุปกรณ์ สำหรับทรานซิสเตอร์มาตรฐานนั้นกระแสไฟฟ้าเดินทางในแนวนอน ดังนั้น การทำให้ทางเดินกระแสไฟฟ้าสั้นลง ทรานซิสเตอร์จะต้องบางลงซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับการผลิตชิพในปัจจุบัน แต่ IBM ได้ออกแบบ กระแสไฟฟ้าให้ไหลในแนวตั้ง เพื่อผลิตซิลิกอนเจอมาเนียมไมโครชิพ เนื่องจาก ทรานซิสเตอร์ที่มีความหนา ทำได้ง่ายกว่าการลดชั้นซิลิกอนเจอมาเนียมให้บางลง IBM พัฒนาเทคโนโลยี ในการเตรียมชั้นซิลิกอนเจอมาเนียม ให้มีความหนาได้ในระดับ 200 อะตอมบนซิลิกอนชิพพื้นฐาน ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้เทคโนโลยีแบบไร้สาย สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิ้ล

                                                                         เเฟลชไดร์ฟ


   Flash Drive แฟลชไดรฟ์ บางคนก็เรียก แฮนดีไดรฟ์  ทัมบ์ไดรฟ์  คีย์ไดรฟ์ จัมป์ไดรฟ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้ทุกประเภท
ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ
มีขนาดเล็ก บาง เบา สะดวกในการพกพาติดตัว เก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกือบทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ต้อง Flash Drive เป็นของตัวเอง












                                                                    


                                                    

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของฉัน

ชื่อ-สกุล   เด็กหญิงวิไลลักษณ์    นกรู้รัก
ชื่อเล่น     ป๊อป
วันเกิด      21 มิถุนายน  2542
อายุ         12
ที่อยู่         39/1 ม.8 ต.น้ำผุด ภ.เมือง จ.ตรัง
โรงเรียน   บ้านไร่พรุ
สีที่ชอบ    เหลือง
อาหารที่ชอบ  ข้าวผัดปู
คติประจำใจ    ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
กีฬาที่ชอบ      วอลเลย์บอล
ดาราที่ชอบ     เต๋าAF8  คชาAF8 ซี-ควิ้น
เพลงที่ชอบ     ไม่อยากใช้แฟนร่วมกันกับใคร   
          

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ

                                                              การเก็บรวบรวมข้อมูล
สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล
 
                                                              การตรวจสอบข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย


                                                        การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
                                                      การจัดเรียงข้อมูล

                                                     การคำนวณ











 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

                                                                       การทำรายงาน






การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ


                                                      การจัดเก็บ
ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้
เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม

                                                                      การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว

                                                                  การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล




เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง















ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง
การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง

การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่
จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการ
ในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล
                        แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ  ค้นคว้า
                           สืบค้น  เรียนรู้  ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการ
                           และอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่ง
                          ข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการ
                          นำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูล
                          มากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น  ค้นคว้า มาใช้ใน
                          การเรียนและงานต่างๆมากมาย
                          ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
                         1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
                         2. ซีดี  วีซีดี ดีวีดี  วีดีโอ ภาพยนต์  
                         3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด  โบราณสถาน  สถานที่ท่องเที่ยว
                        4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี  วิทยุ  ระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม

 

   
 6+



  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                                    1.  ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของข้อมูลได้
                                       2.  ผู้เรียนสามารถบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูลได้
                                       3.  ผู้เรียนสามารถบอกถึงประโยชน์ของข้อมูลได้
                                       4.  ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆจากแหล่งข้อมูลของตนเองได้
 
                 


 ความหมายของข้อมูล
 
                               ข้อมูล (Data)  หมายถึง  ข้อเท็จจริงของ
                             สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น  คน  สัตว์  สิ่งของ
                             สถานที่ต่างๆ ธรรมชาติทั่วไป ล้วนแล้ว แต่มีข้อมูล
                            ในตนเอง ทำให้เรารู้ความเป็นมา ความสำคัญ และ
                            ประโยชน์ ของสิ่งเหล่านั้น  ดังนั้นข้อมูลของทุกๆสิ่งจึงมีความสำคัญมาก

          


ประเภทของข้อมูล
 
                                                ประเภทของข้อมูลแบ่งออกได้  3  ประเภท ดังนี้
                                                1.  ข้อมูลประเภทตัวเลข
                                                2.  ข้อมูลประเภทอักขระ
                                                3.  ข้อมูลประเภทภาพและเสียง